วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

ผลประโยชน์กระดูกแตกหัก กับ ค่ารักษากระดูกแตกหักต่างกันอย่างไร ใน PA

เคยมีคนถามกันมาเยอะมาก เพราะสงสัยว่า
ผลประโยชน์กระดูกแตกหัก กับ ค่ารักษากระดูกแตกหักต่างกันอย่างไร ใน PA

ในตารางกรมธรรม์ ประกันอุบัติเหตุ หมวดที่คุ้มครองเรื่องกระดูกแตกหัก ระหว่าง ความคุ้มครองที่เป็นผลประโยชน์กระดูกแตกหัก กับ ค่ารักษากระดูกแตกหัก   2 อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร??


ความแตกต่างสรุปเป็นข้อๆดังนี้ครับ

  1. เวลาที่เคลม ค่ารักษากระดูกแตกหัก เคลมกับบัตร care card ณ ที่รพ. ในเครือตอนเกิดค่ารักษาขึ้นจริงได้ทันที (รพ.นอกเครือ เก็บเอกสารมาเคลมเองภายหลัง) ส่วน ผลประโยชน์กระดูกแตกหัก จะต้องเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องมายื่นกับประกันภายหลัง เช่น film x ray ใบรับรองแพทย์ ซึ่งแต่ละประกัน อาจเรียกเอกสารไม่เหมือนกัน
  2. เรื่องเงินที่ได้หรือผลประโยชน์ที่ได้ กรณี
    ค่ารักษากระดูกแตกหัก   ได้ตามใบเสร็จค่ารักษาที่ รพ.คิดค่ารักษา โดยประกันจะเป็นคนจ่ายให้ รพ. ตามจริง ไม่เกินวงเงินในตาราง กรณีแบบรพ. ในเครือนะครับ
    - กรณีผลประโยชน์ชดเชยกระดูกแตกหัก จะต้องเปิดดูในกรมธรรม์ว่า เงื่อนไขที่แนบมานั้น เขียนไว้ว่ากระดูกแต่ละส่วน ให้กี่ % เช่น สมมติกระดูกสะโพกหักหลายชิ้น ให้ 60% ก็เอา วงเงินในตารางมาคูณ 0.6 จะได้เงินชดเชยผลประโยชน์กระดูกแตกหัก เช่น 100,000 x 0.6= 60,000 บาท เป็นต้น
จะดูตารางเงินชดเชยว่ากระดูกแต่ละส่วนหักได้กี่ % ที่ไหน

ต้องดูในคู่มือกรมธรรม์ที่แนบมากับกรมธรรม์ครับ แต่หากต้องการแนวทางตัวเลขก่อนซื้อลองดูใน 
https://www.viriyah.co.th/th/download/non_doc/07_PA_Aree.pdf
หน้าที่ 23 เริ่มที่ ข้อ 1 เกี่ยวกับกระดูกแตกหัก จะเห็นว่า ที่ได้สูงสุดคือ การแตกหักมากกว่า 1 แห่งของสะโพกเชิงกรานได้ 60% ของวงเงินในตาราง

ประกันที่จ่ายเป็น ผลประโยชน์กระดูกแตกหัก เช่น 
PA broken bone ของเมืองไทยประกันชีวิต

ส่วนที่จ่ายเป็นค่ารักษากระดูกแตกหักเช่น
PA ขอบคุณ ของกรุงเทพประกันภัย เป็นต้น


หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเรื่อง จะซื้อประกัน PA แบบมีค่ารักษากระดูกแตกหัก หรือ แบบที่เป็น ผลประโยชน์กระดูกแตกหัก แบบไหนดี นะครับ